มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ประกอบด้วยมาตรฐาน ๓ ด้าน
มาตรฐานความรู้ |
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ |
๑. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ ๑.๑ หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา ๑.๒ นโยบายและการวางแผนการศึกษา ๑.๓ การบริหารจัดการการศึกษา ๑.๔ การบริหารทรัพยากร ๑.๕ การประกันคุณภาพการศึกษา ๑.๖ การนิเทศการศึกษา ๑.๗ การพัฒนาหลักสูตร ๑.๘ การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ๑.๙ การวิจัยทางการศึกษา ๑.๑๐ คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา ๒. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง |
๑. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี หรือ ๒. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือ ๓. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือ ๔. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มหรือผู้อำนวยการกลุ่มหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี หรือ ๕. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาหรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือผู้อำนวยการกลุ่ม หรือเทียบเท่า รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี |
มาตรฐานความรู้ |
สาระความรู้ |
สมรรถนะ |
๑. หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา |
๑. หลักและทฤษฎีทางการบริหารและการบริหารการศึกษา ๒. ระบบและกระบวนการบริหารและการจัดการการศึกษายุคใหม่ ๓. การสร้างวิสัยทัศน์ในการบริหารและจัดการการศึกษา ๔. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ๕. บริบทและแนวโน้มการจัดการการศึกษา |
๑. สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา ๒. สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการการศึกษา ๓. สามารถกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของการศึกษา ๔. สามารถจัดองค์กร โครงสร้างการบริหาร และกำหนดภารกิจของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เหมาะสม |
๒. นโยบายและการวางแผนการศึกษา |
๑. พื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีที่มีผลต่อการจัดการศึกษา ๒. ระบบและทฤษฎีการวางแผน ๓. การวิเคราะห์และการกำหนดนโยบายการศึกษา ๔. การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๕. การพัฒนานโยบายการศึกษา ๖. การประเมินนโยบายการศึกษา
|
๑. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำนโยบายการศึกษา ๒. สามารถกำหนดนโยบาย วางแผน การดำเนินงานและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา ๓. สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่มุ่งให้เกิดผลดี คุ้มค่าต่อการศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม ๔. สามารถนำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติ ๕. สามารถติดตาม ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงาน |
๓. การบริหารจัดการการศึกษา |
๑. หลักและระบบการจัดการศึกษา ๒. เทคนิคการบริหารจัดการการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ ๓. บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นในการจัดการศึกษา |
- สามารถบริหารจัดการการศึกษาให้มี คุณภาพ |
๔. การบริหารทรัพยากร |
๑. การแสวงหาและใช้ทรัพยากรทางการศึกษา ๒. การบริหารทรัพยากรบุคคล ๓. การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวด ล้อม และพลังงาน ๔. การบริหารงบประมาณ การเงิน และบัญชี |
๑. สามารถวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. สามารถบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน และบัญชีได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
|
๕. การประกันคุณภาพการศึกษา |
๑. หลักการและกระบวนการในการประกันคุณภาพการศึกษา ๒. องค์ประกอบของการประกันคุณภาพการศึกษา ๓. มาตรฐานการศึกษา ๔. การประกันคุณภาพภายในและภายนอก ๕. บทบาทของผู้บริหารในการประกันคุณภาพการศึกษา |
๑. สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาหรือหน่วยงาน ๒. สามารถประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาหรือหน่วยงาน ๓. สามารถจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองของหน่วยงานเพื่อรองรับการประเมินภายนอก |
๖. การนิเทศการศึกษา
|
๑. หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา ๒. เทคนิคการนิเทศการศึกษา ๓. ความสัมพันธ์ของการนิเทศการศึกษากับการบริหารการศึกษา |
๑. สามารถนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ๒. สามารถพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษา ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง |
๗. การพัฒนาหลักสูตร |
๑. หลักการพัฒนาหลักสูตร ๒. การบริหารและการพัฒนาหลักสูตร ๓. ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร |
- สามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาหลักสูตรและกำกับติดตามการจัดทำหลักสูตร ที่สอดคล้องกับความต้องการและ ความจำเป็นของท้องถิ่น |
๘. การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ |
๑. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ๒. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ ๓. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้
|
๑. สามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและ การปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ๒. สามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการ ๓. สามารถส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา |
๙. การวิจัยทางการศึกษา
|
๑. ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา ๒. สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัย ทางการศึกษา ๓. หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา |
- สามารถนำกระบวนการทางการวิจัยการวัดและประเมินผลไปใช้ในการบริหารจัดการการศึกษาได้ |
๑๐. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา
|
๑. คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร ๒. จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ๓. การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนใน กรอบคุณธรรม ๔. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี |
๑. เป็นผู้นำเชิงคุณธรรมจริยธรรมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ๒. ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ๓. ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงาน มีคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสม |
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ |
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี (๒) ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ในการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ (๓) ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ (๔) นำแนวทางหรือรูปแบบใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานจนเกิดประโยชน์ต่องานในหน้าที่และองค์การ (๕) สามารถใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีการปฏิบัติงาน (๖) สร้างผลงานที่แสดงถึงการค้นพบและพัฒนาความรู้ ความคิดในวิชาชีพ (๗) เป็นผู้นำในการจัดทำแผนปฏิบัติการให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต |
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม (๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ (๓) ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่กระตือรือร้น ไม่เอาใจใส่จนปฏิบัติงานไม่แล้วเสร็จทันเวลาหรือเป้าหมายที่กำหนดและทำให้เกิดความเสียหายต่องานในหน้าที่ |
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ |
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ (๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ (๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพ ให้สาธารณชนรับรู้ (๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ (๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาครูและบุคลากร (๖) ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนางานที่ตนปฏิบัติ หรืองานที่รับผิดชอบ โดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนที่ควรได้รับ (๗) สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวิชาชีพ (๘) สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ทางการศึกษา เพื่อพัฒนาวิชาชีพ (๙) เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ |
(๑) วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพจนทำให้เกิดความเสียหาย (๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ (๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของทางราชการ จนก่อนให้เกิดความเสียหาย (๕) ละเลยเพิกเฉยหรือไม่ดำเนินการต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ (๖) คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน (๗) บิดเบือนหลักวิชาการในการปฏิบัติงานจนก่อให้เกิดความเสียหาย (๘) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิขาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
|
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ |
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพโดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ (๒) ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส (๓) บริหารงานโดยยึดหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (๔) รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับบริการ (๕) ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ (๖) ให้ผู้รับบริการได้ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง (๗) เป็นกัลยาณมิตรกับผู้รับบริการ |
(๑) ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ (๒) เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการในงานตามบทบาทหน้าที่ |
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ |
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๒) ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๓) เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา (๔) ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๕) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกำลังในการพัฒนาการศึกษา (๖) ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
|
(๑) นำเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา (๒) ปกปิดความรู้ ไม่ช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๓) แนะนำในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจนทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๔) ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ตนมีความถนัดแม้ได้รับการร้องขอ (๕) ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก ไม่ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๖) ใช้อำนาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทำผิด โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ (๗) ยอมรับและชมเชยการกระทำของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่บกพร่องต่อหน้าที่หรือศีลธรรมอันดี (๘) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความสามัคคี |
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ |
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ |
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (๒) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการ หรือวิชาชีพแก่ชุมชน (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (๔) เป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม |
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม (๒) ไม่แสดงความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม (๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม (๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม |